1. ความยาว (Lenght)
ภาพยนตร์สั้นมักมีความยาวตั้งแต่ 1 – 30 นาที ขึ้นอยู่กับความพอดีและลงตัว ความพอดี หรือความลงตัว อยู่ที่หนังสามารถตอบสนองเรื่องราวได้อย่างน่าพอใจหรือยัง ความยาวจึงขึ้นอยู่กับผู้กำกับที่จะตัดสินใจว่า การเล่าเรื่องเกินพอดี หรือขาดความพอดีหรือไม่ ซึ่งการขาดความพอดี หรือการเกินความพอดี จะส่งผลให้หนังอืดอาดยืดยาด หรือหนังเร็วจนเรื่องขาดหายไปทำให้ดูไม่รู้เรื่องสำหรับหนังของมือใหม่มักมีข้อบกพร่อง คือ กังวลว่าคนดูจะไม่รู้เรื่อง จึงมักพูดมาก จนน่าเบื่อ หรือความอ่อนประสบการณ์ทำให้ไม่สามารถแตกช็อตให้คนดูเข้าใจเรื่องได้จึงกลายเป็นหนังที่ห้วนและดูไม่รู้เรื่อง
2. แก่นเรื่อง (Theme)
แก่นเรื่อง คือ สาระหรือจุดเป้าหมายที่เรากำลังพยายามเข้าถึงแก่นเรื่อง คือ ความคิดลึกซึ้งที่เป็นนามธรรม หรือ ความคิดที่ยึดโครงสร้างของเรื่อง และนำเสนอผ่านตัวละคร เป็นแอ๊กชั่นของการแสดงทั้งหมด แก่นเรื่องเป็นศูนย์กลางความคิดหลักที่เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดที่ผู้กำกับต้องการสื่อสารกับคนดู สำคัญมากหนังสั้นควรมีความคิดหลักประการเดียว มิฉะนั้นจะทำให้เรื่องซับซ้อนต้องใช้วิธีเล่าเรื่องแบบหนังที่มีความยาวทั่วไป ความคิดหลักไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับคนดูเสมอไป แต่ให้คนดูมีโอกาสไตร่ตรองสำรวจความคิดของตนเองเป็นการจุดจินตนาการและทำให้เกิดความคิดทางสติปัญญาขึ้น
3. ความขัดแย้ง (Conflict)
เป็นการกำหนดความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัวละครหรือเป็นเป้าหมายที่ตัวละครต้องการจะไปให้ถึงแล้วเรา (ผู้เขียนบท) จะสร้างอุปสรรคให้ตัวละครแก้ปัญหา หรือสร้างวิธีการต่าง ๆ
นานาให้ตัวละครไปสู่เป้าหมายอย่างยากเย็น การสร้างความขัดแย้ง ผู้เขียนบทต้องเริ่มวางประเด็นของเรื่องไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือเขียนบทเป็นประโยคสำคัญ ความขัดแย้งมีหลายประเภท คือ
นานาให้ตัวละครไปสู่เป้าหมายอย่างยากเย็น การสร้างความขัดแย้ง ผู้เขียนบทต้องเริ่มวางประเด็นของเรื่องไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือเขียนบทเป็นประโยคสำคัญ ความขัดแย้งมีหลายประเภท คือ
– ความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง
– ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ
– ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ
4. เหตุการณ์เดียว (One Primary Event)
เหตุการณ์หลักในหนังสั้น ควรมีเพียงเหตุการณ์เดียว ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
อาจจะกินระยะเวลาในหนังหลายวันหรือหลายอาทิตย์ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ทำให้เนื้อเรื่องดูง่าย ไม่ซับซ้อน
มีความยาวไม่มากนักใช้เหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียวในการเล่าเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับเวลา
อาจจะกินระยะเวลาในหนังหลายวันหรือหลายอาทิตย์ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ทำให้เนื้อเรื่องดูง่าย ไม่ซับซ้อน
มีความยาวไม่มากนักใช้เหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียวในการเล่าเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับเวลา
5. ตัวละครเดียว (One Major Character)
ตัวละครในภาพยนตร์ คือ การแสดงของคนที่มีบุคลิกลักษณะตามที่เราเลือกไว้
เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการแสดงตัวละคร คือ มุมมอง หรือวิธีมองโลก (ซึ่งสามารถหมายถึง วิสัยทัศน์)
หรือวิธีที่ตัวละครมองโลกในแง่มุมต่างๆ หนังสั้นจะใช้ตัวละครหลักเพียงตัวเดียว และผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างให้ตัวละครให้มีความน่าสนใจ และใช้ตัวละครหลักไปสัมพันธ์กับตัวละครอื่น หรือปัญหาอื่นแล้วเปิดเผยให้คนดูเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตกใจ
เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการแสดงตัวละคร คือ มุมมอง หรือวิธีมองโลก (ซึ่งสามารถหมายถึง วิสัยทัศน์)
หรือวิธีที่ตัวละครมองโลกในแง่มุมต่างๆ หนังสั้นจะใช้ตัวละครหลักเพียงตัวเดียว และผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างให้ตัวละครให้มีความน่าสนใจ และใช้ตัวละครหลักไปสัมพันธ์กับตัวละครอื่น หรือปัญหาอื่นแล้วเปิดเผยให้คนดูเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตกใจ
6. ความต้องการ (Need & Want)
ความต้องการของตัวละคร คือ สิ่งที่ตัวละครอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการให้ได้มาต้องการบรรลุในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระหว่างเนื้อหาของเรื่องราวผู้เขียนต้องกำหนดความต้องการของตัวละครก่อนเขียนบท โดยกำหนดว่าอะไร ? คือความต้องการของตัวละคร ความต้องการนี้จะเป็นตัวผลักดันตัวละคร ให้เกิดการกระทำจากนั้นผู้เขียนต้องสร้างอุปสรรคขัดขวางความต้องการนั้นสำคัญมาก ความต้องการจะช่วยให้โครงเรื่องพัฒนาไปอย่างมีทิศทางในหนังสั้นความต้องการของตัวละครหลักมักมีหลายระดับ
7. โครงสร้างของบท (Structure)
โครงสร้าง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับทั้งหมด ส่วนย่อยคือ แอ๊กชั่น , ตัวละคร , ฉาก , ตอน , องก์ (1,2,3) , เหตุการณ์ , สถานการณ์ , ดนตรี สถานที่ ฯลฯ ส่วนย่อยทั้งหมดล้วนสร้างขึ้นเพื่อหลอมรวมเป็นเรื่องแล้วโครงสร้างจะเป็นตัวยึดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมทั้งหมด
8. ปูมหลัง (Backstory)
8. ปูมหลัง (Backstory)
ปูมหลังของเรื่อง คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเรื่องในภาพยนตร์จะเกิดเหตุการณ์ในอดีตจะส่งผลตรงกับอารมณ์ของตัวละครหลักปูมหลังของเรื่องมีความสัมพันธ์กับความต้องการของตัวละคร คนเขียนบทต้องกำหนดล่วงหน้าก่อนลงมือเขียนบท แต่ปูมหลังไม่จำเป็นต้องปรากฏอยู่ในบท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น